คริสตจักรประสบกิตติคุณ

  เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก   
  ตะกร้าสินค้า (0)
 



ประวัติคริสตจักรประสบกิตติคุณ
            ปี ค.ศ.1942 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวัดลำปางได้รับผลกระทบจากสงครามมีเครื่องบินทิ้งระเบิดที่จังหวัดลำปาง ทำให้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองลำปางได้อพยพย้ายถิ่นฐานไปตามที่ต่าง ๆ และหนึ่งในจำนวนนั้นมี ผป.แสน (ผู้เล่าจำนามสกุลไม่ได้ ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เป็นผู้ปกครองของคริสตจักรที่ 1 ลำปาง ได้อพยพครอบครัวมาอาศัยอยู่กับครอบครัวของ พ่อแก้วมา แก้วติ๊บ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เนื่องจากครอบครัวทั้งสองมีความสนิทสนมกันดี และการอพยพในครั้งนั้นก็ได้อาศัยการเดินทางด้วยเท้า เนื่องจากการเดินทางรถยนต์ไม่มี เมื่อ ผป.แสน อพยพมาอาศัยอยู่กับพ่อแก้วมาท่านได้นำหนังสือมาด้วยหลายเล่ม แต่มีเล่มหนึ่งที่พ่อแก้วมาสนใจมากเป็นพิเศษก็คือ หนังสือห้องชั้นบน (จำไม่ได้ว่าเป็นหนังสือห้องชั้นบนประจำเดือนอะไร ปีอะไร ท่านไม่ได้เก็บไว้ ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว) ท่านได้อ่านแต่ท่านก็ยังไม่เข้าใจ
            ในเวลานั้นในหมู่บ้านที่ท่านอาศัยอยู่นั้นเป็นชุมชนที่นับถือศาสนาพุทธ สภาพภายในหมู่บ้านห่างไกลจากความเจริญมาก ไม่มีถนน ไม่มีไฟฟ้า เหมือนในปัจจุบัน ภายในหมู่บ้านจะมีวัดที่มีการสร้างคล้ายกับศาลา ยังไม่มีวิหารเหมือนปัจจุบันและในวัดก็ไม่มีพระมาจำพรรษา ในหมู่บ้านไม่มีโรงเรียนเมื่อเด็กคนใดต้องการเรียนหนังสือก็จะต้องไปเรียน ที่หมู่บ้าน บ้านใหม่ซึ่งมีเขตติดต่อกับบ้านเหล่า  ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนมีสภาพเรียบง่าย แต่หลายคนมีความมุ่งมั่นที่จะแสวงหาสัจธรรมแห่งชีวิต โดยจะเห็นได้จากการรวมกลุ่มของคนในชุมชนที่พยายามจะแสวงหาความจริงด้วยการ ศึกษาธรรมในยามค่ำคืน โดยเฉพาะในวันสำคัญทางพุทธศาสนาเช่นวันพระ และมักจะใช้ศาลาวัดเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนความคิด และถกปัญหาต่าง ๆ รวมถึง สาระและแก่นสารของพุทธศาสนา บุคคลเหล่านี้ประกอบไปด้วย
1. พ่อก้วน    วงค์พรม  (เป็นผู้นำศาสนาพุทธในเวลานั้น)
2.พ่อน้อยวงค์   ปีบ้านใหม่  (เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน)
3.พ่อต่ำ       วงค์พรม
4.พ่อแก้วมา  แก้วติ๊บ
5.พ่อรัตน์     แสนใจสี
            ในเวลานั้นทุกคนยังคงนับถือศาสนาพุทธกันอยู่ จนวันหนึ่งเป็นวันพระ ทั้ง 5 ท่านก็ได้นัดหมายกันที่ศาลาวัด โดยการนำของพ่อก้วน วงค์พรมได้นำธรรมของศาสนาพุทธ พ่อแก้วมา แก้วติ๊บ ได้นำธรรมมะของคริสเตียนมาอ่านและศึกษาด้วยกัน
เมื่อปี ค.ศ.1951 ได้มีคริสเตียนท่านหนึ่งชื่อ นายแสวง  ฟูเต็มวงศ์ (ปัจจุบันเป็นผู้ปกครองและยังมีชีวิตอยู่) ได้เดินทางมากับ นายแพทย์บรรเลง  ฟูเต็มวงศ์ ทั้งสองท่านเป็นสมาชิกของคริสตจักรที่ 1 ลำปาง และมีโอกาสเข้ามารักษาคนป่วยในตำบลบ้านเป้าและตำบลบ้านเอื้อม ในการเข้ามารักษาคนป่วยของท่านทั้งสองต้องเดินด้วยเท้า และเมื่อเดินเข้ามารักษาคนในหมู่บ้านเหล่า    ท่านทั้งสองจึงมาขอพักอาศัยอยู่กับครอบครัวของ พ่อสม  วงค์พรหม (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ซึ่งเป็นบิดาของ นางสาวนวล  วงค์พรหม ซึ่งนับได้ว่าเป็นสาวงามคนหนึ่งในหมู่บ้าน  การพักอาศัยของท่านในแต่ละครั้งอาจจะใช้เวลาประมาณ  2-3 คืนแล้วก็เดินทางกลับ ในขณะที่ท่านทั้งสองมาพักอาศัยอยู่นั้นท่านทั้งสองก็มีโอกาสได้พูดคุยเรื่อง ราวของ  พระเจ้าเสมอ ๆ ครอบครัวของพ่อหลวงสม ก็ไม่ได้รังเกียจแต่อย่างใด จนกระทั่งเวลาได้ผ่านไป 3 ปี ระหว่างนั้นความสนิทสนมของนายแสวงและนางสาวนวลได้เริ่มต้นขึ้น และกลายมาเป็นความรักจนในทีสุดนายแสวงได้มีพิธีสู่ขอตามธรรมเนียมประเพณีที่ สืบทอดกันมาโดยไม่ได้มีพิธีแต่งงาน ในปี ค.ศ.1954 และท่านได้อาศัยอยู่กับพ่อหลวงสมเป็นเวลา 1 ปี ท่านได้ย้ายมาสร้างบ้านที่อยู่ในปัจจุบัน
            เมื่อปี ค.ศ.1956 ได้มีผู้ประกาศ จากคริสตจักรภาคที่ 3 ลำปาง ได้เข้ามาพักอาศัยอยู่กับครอบครัวของพ่อแสวง และแม่นวล  ฟูเต็มวงค์ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้แก่
            1.อาจารย์เปี้ย  กล้าแท้       (ปัจจุบันเสียชีวิต)
            2.ผป. เขียว      ปั้นสวย      (ปัจจุบันเสียชีวิต)
            3.ผป. ศรีมูล     สายคำ       (ปัจจุบันมีชีวิตอยู่)
ด้วยความสนิทสนมเป็นการส่วนตัว ครอบครัวของท่านก็ให้การต้อนรับบุคคลทั้งสามเป็นอย่างดีถึงแม้ว่าบ้านจะคับ แคบแต่ก็ยินดีที่จะให้บ้านเป็นสถานที่สำหรับประกาศ เรื่องราวของพระเจ้า และเมื่อผู้ประกาศทั้ง 3 ท่านเข้ามาอาศัย   ก็ได้ร่วมวางแผนกับพ่อแสวงว่าจะประกาศกันอย่างไร ประกาศกับใคร จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ก็พบว่ามีกลุ่มหนึ่งที่สนใจธรรมมะอยู่แล้ว พ่อแสวงจึงแนะนำว่าควรจะในประกาศกับบุคคลเหล่านั้น ซึ่งประกอบด้วย

  1. พ่อก้วน  วงค์พรม ซึ่งเป็นผู้นำศาสนาพุทธในขณะนั้นต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองและ เป็นต้นตระกูล “วงค์พรม” มีลูกหลานที่เข้มแข็งและเป็นกำลังของคริสตจักรในเวลาต่อมา (ปัจจุบันเสียชีวิต)
  2. พ่อแก้วมา  แก้วติ๊บ ก็เป็นคนหนึ่งที่สนใจในเรื่องราวของพระเยซูคริสต์ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองและเป็นต้นตระกูล “แก้วติ๊บ”
  3. พ่อต่ำ  วงค์พรม ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครอง (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
  4. พ่อสม  วงค์พรม  ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
  5. พ่อวงค์   ปีบ้านใหม่ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครอง

                                         (ปัจจุบันท่านเสียชีวิตแล้ว)

  1. พ่อปุ๊ด  แสนใจศรี  ต้นตระกูลของ “แสนใจศรี”
  2. พ่อปุ๊ก  ขัดกันทะ  ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
  3. พ่อสม   จันทร์ตาฝั้น  ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
  4. พ่อสร้อย  นิวันเปี้ย  ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
  5. พ่อรัตน์  แสนใจศรี  ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองและปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่

            ในสมัยนั้นการประกาศข่าวประเสริฐจะเป็นในรูปแบบการพูดตัวต่อตัว โดยการสนทนาธรรมแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ และข้อคิดเห็นอย่างไม่เป็นทางการโดยใช้พระคัมภีร์เป็นแนวทางการประกาศข่าว ประเสริฐ  และการที่คริสตจักรภาค 3 ได้ส่งผู้นำเข้าไปอาศัยอยู่กับชุมชนเป้าหมาย   และบุคคลที่เอ่ยมาข้างต้นก็เป็นกลุ่มคนที่เป็นเป้าหมายหลักของผู้ประกาศทั้ง 3  ท่าน รูปแบบทีใช้ได้ผลคือ ชักชวนให้เข้ามาร่วมสนทนาธรรม ฟังพระวจนะ  นมัสการ  ร้องเพลง  อธิษฐาน ที่บ้านคุณพ่อแสวง ฟูเต็มวงค์ ในช่วงแรกของการนมัสการนั้นปรากฏว่ามีคนมาฟังบ้าง ไม่มาบ้าง บางอาทิตย์ก็จะมี 3-4 คน เท่านั้น มีมิชชันนารี หลายท่านได้วนเวียนเข้ามาเยี่ยมเยียน ร่วมกับผู้ประกาศ 3 ท่าน เป็นบางครั้ง เมื่อการนมัสการที่บ้านมีคนมาฟังมากขึ้น คุณพ่อแสวงได้สร้างศาลาเล็ก ๆ ขึ้นภายในบ้านของท่านเพื่อใช้เป็นที่นมัสการชั่วคราว
ในปลายปี ค.ศ. 1956 ผู้ประกาศทั้ง 3 ท่านได้ประกาศข่าวประเสริฐให้กับกลุ่มผู้สนใจ บ้านเหล่านั้นก็มีความสนใจในเรื่องของพระเจ้า      และได้เริ่มพูดคุยกันในกลุ่มที่ไปเลื่อยไม้ในป่าว่าในปี ค.ศ.1957 (พ.ศ..2500) “ ถ้าหากว่าทางการไม่มาซ่อมแซมวัด และมาบำรุงพระพุทธศาสนา และไม่มีพระมาจำพรรษา พวกเราจะไปรับเชื่อพระเจ้าเข้ามาเป็นคริสเตียนกันหมด” และในช่วงเวลานั้นผู้ประกาศต้องมีความพยายาม และอดทนอย่างมากที่จะนำคนเหล่านี้มารับเชื่อพระเจ้า จนกระทั่งในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1957 กลุ่มผู้ที่ได้รับฟังเรื่องราวของพระเจ้าก็ได้ตัดใจต้อนรับเอาพระเยซูคริสต์ เป็นพระเจ้าของเขา  ในครั้งนั้นมีจำนวนทั้งสิ้น 16 คน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
1. พ่อก้วน   วงค์พรม       (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว ด้วยโรคไตวาย  อายุ 69 ปี)
2.พ่อวงค์    ปีบ้านใหม่    (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว ด้วยโรคมะเร็ง   อายุ 70 ปี)
3.พ่อต่ำ     วงค์พรม        (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว ด้วยโรคหัวใจโต อายุ 84 ปี)
4.พ่อแก้วมา แก้วติ๊บ        (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้วอายุ 80 ปี)
5.พ่อซาว   อินทิยศ         (ปัจจุบันมีชีวิตอยู่ อายุ 72 ปี)
6.แม่หลวงหลาน  อินทิยศ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว  ด้วยโรคชรา อายุ 87 ปี)
7.พ่อสร้อย  นิวันเปี้ย       (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว  ด้วยโรคบาดทะยัก อายุ 61 ปี)
8.พ่อนวล   ขัดสีใส         (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว อายุ 83 ปี)
9.พ่อสม  จันตาฝั้น         (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว  ด้วยโรคชรา อายุ 71 ปี)
10.พ่อสม  วงค์พรม        (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว  ด้วยโรคชรา อายุ 73 ปี)
11.แม่ปั๋น  วงค์คำ           (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว  ด้วยโรคชรา อายุ 87 ปี)
12.แม่แก้วมา  วงค์คำ     (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว  ด้วยโรคชรา อายุ 77 ปี)
13.พ่อน้อยปุ๊ด  แสนใจศรี            (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว ด้วยโรคชรา อายุ 97 ปี)
14.พ่อนุช  แสนใจศรี       (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว อายุ 67 ปี)
15.แม่หลวงต่อม  ขัดสีใส  (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว ด้วยโรคชรา อายุ 79 ปี)
16.พ่อคำ  จิตแหลม        (ปัจจุบันมีชีวิตอยู่  อายุ 78 ปี)
            ทั้ง 16 ท่านได้ตัดสินใจรับเชื่อและเข้ามาเป็นคริสเตียนโดยทำพิธีรับเชื่อที่คริ สจักรที่ 1 ลำปางโดยมี ศจ.ดวงดี  ทิพย์มาบุตร ศิษยาภิบาล คจ.ที่ 1 เป็นผู้ทำพิธี การเดินทางครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากอาจารย์โรเบิร์ต  แบรดเบิร์น นำรถมารับไปที่คจ.ที่ 1
ในปีค.ศ.1957 หลังจากที่กลุ่มคริสเตียนได้เกิดขึ้นที่บ้านเหล่าแล้ว ก็ได้มีการนมัสการตามบ้านของสมาชิกผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน แต่สถานที่หลัก ๆ ก็ยังคงเป็นที่บ้านของพ่อแสวง  ฟูเต็มวงค์ ต่อมามีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น สถานที่คับแคบ จึงเปลี่ยนมานมัสการที่บ้านของ พ่อซาว  อินทิยศ ซึ่งมีบริเวณกว้างพอที่จะรับจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเพิ่มจากคนในครอบครัว เช่น ลูกหลาน หรือ               วงศาคณาญาติ  การนมัสการยังคงใช้ที่บ้านของพ่อซาว  อินทิยศต่อไป
สำหรับประวัติพ่อซาว  อินทิยศ  ท่านมาจากครอบครัวที่ไม่ใช่คริสเตียน ได้ละทิ้งความเชื่อเดิมมานับถือศาสนาคริสต์ ดังนั้นเองกระแสความคัดค้านจากครอบครัวจึงมีมากจนแทบจะทนไม่ได้ เช่น จะถูกตัดจากวงศาคณาญาติ ไม่ให้รับมรดกในที่ดิน หรือทรัพย์สิน แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคของความเชื่อ ศรัทธา ต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าของท่านแต่อย่างใด  ท่านกลับเข้มแข็งและเอาจริงเอาจังในการดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่าง  ผลสุดท้ายบิดาของท่านก็ได้เห็นพระเจ้าในชีวิตของท่าน ซึ่งข้อความตอนหนี่งที่ท่านได้กล่าวกับพ่อซาวว่า “พระเจ้าที่ลูกนับถือนั้นเป็นพระเจ้าที่แท้จริง เป็นพระศรีอริยะเมตตรัย และไม่ต้องแสวงหาพระอื่นใดอีกแล้ว” ซึ่งตัวท่านเองก็ไม่มีโอกาสที่รับเชื่อเป็นคริสเตียนจนกระทั้งเสียชีวิตในปี ค.ศ.1986
ปีค.ศ.1957-1959 กลุ่มคริสเตียนได้รวมตัวกันมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และยังคงใช้การนมัสการตามบ้านสมาชิกอยู่ โดยมีผู้ประกาศ 3 ท่าน คือ อาจารย์เปี้ย  กล้าแท้  ผป.เขียว  ปั้นสวย  และผป.ศรีมูล    สายคำ มาดูแลอภิบาลสมาชิกอยู่เสมอ และในขณะเดียวกันทางคริสตจักรภาคที่ 3 ก็ได้ส่งอาจารย์ดวงดี  ทิพย์มาบุตร  ศิษยาภิบาลคริสตจักรที่ 1 มาทำพิธี จัดตั้งกลุ่มคริสเตียนบ้านเหล่า ในเดือน พฤศจิกายน ค.ศ.1957 มีการประกอบพิธีบัพติสมา และมีการแต่งตั้งผู้ปกครองชุดแรกคือ
1.ผป.ก้วน  วงค์พรม
2.ผป.ต่ำ  วงค์พรม
3.ผป.วงค์  ปีบ้านใหม่
4.ผป.แก้วมา  แก้วติ๊บ
            หลังจากที่มีสมาชิกของหมู่บ้านได้ตัดสินใจมารับเชื่อเป็นคริสเตียนและได้จัด ตั้งกลุ่ม         คริสเตียนขึ้น  ทำให้เกิดเหตุความไม่พอใจขึ้นในชุมชนท้องถิ่นที่เกรงว่าคนในหมู่บ้านจะ ละทิ้งศาสนาพุทธกันหมด การต่อต้านจึงเริ่มขึ้นในชุมชนแห่งนี้ โดยมาในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยกลุ่มคริสเตียนที่นี่ได้รับการข่มเหงอย่างมากมาย แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ความเชื่อ ศรัทธา ของสมาชิกถดถอยไปด้วย กลับทำให้ เข้มแข็งขึ้น แต่ก็มีบางครอบครัวที่ต้องลาออกจากการเป็นสมาชิกไปบ้าง แต่ก็ไม่มาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น พอจะลำดับได้ดังนี้
-ปีค.ศ.1957 ประมาณเดือนธันวาคม ผู้ประกาศ 3 ท่าน ได้ร่วมกับอนุชนคริสตจักรที่ 1 ซึ่งประกอบไปด้วย อ.ถนอม  ศรีสุวรรณ  อ.วิชา  นทีคุณธรรม  อ.สนิท  วีระพันธ์  คุณไล้  ลี้ตระกูล  ผป.บุญเรือง          ลี้ตระกูล  อ.บุญศักดิ์  จงวัฒนา  ได้นำรถจิ๊ปของอาจารย์โรเบริท  แบลคเบิร์น  มาฉายหนังกลางแปลง เป็นหนังที่เกี่ยวกับพระเยซูพร้อมกับประกาศข่าวประเสริฐที่กลางทุ่งนาหน้า บ้าน พ่อรัตน์  แสนใจสี ในขณะกำลังฉายหนังอยู่นั้น  ปรากฎว่ามีคนปาก้อนหิน, ก้อนดิน เข้าใส่กลุ่มผู้ฉายหนังและคนที่มาดู จนเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ฉายหนัง และคนดูได้รับบาดเจ็บกันหลายคนและในจำนวนนี้น ผป.ศรีมูล  สายคำ ผู้ฉายหนังก็ได้รับบาดเจ็บตามร่างกายหลายแห่ง จนการฉายหนังไม่สามารถดำเนินต่อไปได้  ต้องรีบเก็บของและอุปกรณ์กลับบ้าน
เหตุการณ์นี้เกิดขี้นเมื่อมีคนเอาก้อนหินขว้างหลังคาวัดบ้านเหล่า และใส่ร้ายว่าคริสเตียนที่เป็นคนทำ  แต่เมื่อมีการพิสูจน์กันด้วยหลักฐานปรากฎว่าผู้ขว้างคือพวกที่นับถือศาสนา พุทธนั่นเอง
มีการเผากุฎิวัดของพระซึ่งก็ไหม้ทั้งหลัง               และชาวบ้านก็โยนความผิดให้กับพี่น้องคริสเตียนว่าเป็นคนทำ และมีการแจ้งความดำเนินคดี  โดยมีตำรวจและเจ้าหน้าที่อำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ทางภาครัฐ ได้แก่  อาจารย์บุญมาก  อาจรย์ดวงดี  ทิพย์มาบุตร  และอาจารย์แบลคเบริน ได้เดินทางมาร่วมพิสูจน์ และเหตุการณ์ก็สงบลงเพราะคริสเตียนได้ยืนยันว่าไม่ได้ทำ   สมัยนั้นสมาชิกคริสเตียนมีฐานะยากจน  ไม่มีที่ดินทำกินจึงต้องอาศัยเช่านาของชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธทำ แต่พอมาเป็นคริสเตียนคนเหล่านั้นก็ได้ยกเลิกการเช่านาทันที ทำให้สมาชิกคริสเตียนต้องพบกับความยากลำบากมาก  บางครอบครัวต้องเดินทางเข้าไปในป่าแผ้วถางเพื่อทำไร่ปลูกข้าว  สมาชิกบางคนก็ไปเช่านาที่ในเมืองกับคนที่รู้จัก จนเวลาผ่านไปหลายปี  เนื่องจากสมาชิกเป็นคนที่ขยันและอดทน อดออมในที่สุดก็สามารถเก็บเงินได้และพยายามซื้อที่ดินเป็นของตนเองในเวลาต่อ มา
การข่มเหงอีกวิธีที่เขาพยายามจะทำให้คริสเตียนยอมแพ้คือ จะตัดสมาชิกฌาปนกิจศพของสมาชิกคริสเตียนออก แต่ทางราชการได้เข้ามาไกล่เกลี่ยในที่สุดก็ตกลงกันได้
            ที่ดินสุสานตอนแรกจะไม่ยอมให้คริสเตียนที่เสียชีวิตเข้ามาฝังในสุสานและจะ ให้ไปฝังที่อื่น แต่ต่อมาภายหลัง  พ่อแก้วมา, พ่อก้วน, หมอเทวัญ (ไม่ใช่คริสเตียน) กำนันปัน ได้ขอทำการแบ่งที่ดินออกเป็น 2 ส่วน โดยทางด้านทิศใต้เป็นของพุทธศาสนา  ทางด้านทิศเหนือเป็นของคริสเตียน และได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
และอีกหลายวิธีที่เขาเหล่านั้นที่จะพยายามกลั่นแกล้ง ข่มเหงเพื่อบีบบังคับให้คริสเตียนท้อถอย เช่น ขว้างหลังคาโบสถ์, ฆ่าสุนัขโยนลงในบ่อน้ำในโบสถ์, ดักทำร้ายร่างกาย ฯลฯ

คริสตจักรประสบกิตติคุณสมัยแรกเริ่ม  (ค.ศ.1960-1963)

            ในปีค.ศ.1960 สมาชิกและคณะผู้ปกครองของกลุ่มคริสเตียนบ้านเหล่า มีความเห็นว่าการนมัสการทีบ้านของสมาชิกไม่ค่อยสะดวก และคับแคบ ประกอบกับจำนวนสมาชิกก็ได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คณะกรรมการ (คณะผู้ปกครอง) จึงมีความเห็นให้สร้างศาลาธรรม …..แห่งหนึ่งแต่ก็ยังหาที่ดินไม่ได้ และขณะเองได้มีสมาชิกคริสตจักรที่ 1 ท่านหนึ่งคือ คุณหมอวงค์  มณีวรรณ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) มีที่ดินว่างเปล่าประมาณ1 ไร่ …….และอาจารย์เปี้ย  กล้าแท้ได้แนะนำให้ไปขอที่ดินดังกล่าวเพื่อสร้างศาลาธรรม  ดังนั้น ผป.แก้วมา 
            ผป.ก้วน  ผป.ต่ำ  ผป.วงค์  จึงได้เดินทางไปของที่ดินดังกล่าว ซึ่งปรากฎว่าคุณหมอวงค์  ยินดีที่จะถวายที่ดินดังกล่าวเพื่อสร้างศาลาธรรม    ในเวลาต่อมาคณะสตรีได้รวบรวมเงินได้อีก 1000 บาท และซื้อที่ดินเพิ่มอีก1 งาน รวมเนื้อที่ปัจจุบัน 1 ไร่ 1งาน
            ปีค.ศ.1960  สมาชิกหลายคนมีความต้องการที่จะสร้าศาลาธรรมหลังใหม่ จึงรวบรวมเงินโดยการถวายครอบครัวละ 35 บาท ได้เงินประมาณ 2000 บาท จึงได้นำไปซื้อบ้านไม้เก่ามา 1 หลัง และนำมาสร้างเป็นศาลาธรรมทรงเตี้ย (ปัจจุบันยังมีให้เห็นอยู่) ศาลาธรรมหลังนี้ได้ใช้เป็นที่นมัสการได้ระยะหนึ่ง และในช่วงเวลานั้นผู้ประกาศทั้ง 3 ท่านได้มาเยี่ยมเยียนน้อยลง เนื่องจากท่านมีพันธกิจที่จะต้องไปประกาศข่าวประเสริฐในที่อื่น ๆ แต่ก็มีผู้รับใช้พระเจ้ารุ่นใหม่แวะเวียนเข้ามาดูแลอภิบาล อย่างต่อเนื่องแต่ส่วนใหญ่ ๆ จะเป็นนักศึกษาพระคริสธรรมเชียงใหม่ (ปัจจุบันเป็นคณะศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยพายัพ) ได้แก่อาจารย์ถนอม  ศรีสุวรรณ  อาจารย์วิชา  นทีคุณธรรม  อาจารย์ประทวน  หล้าใหญ่เป็นต้น
            ในปลายปี ค.ศ.1960 ทางกลุ่มคริสเตียนได้งบประมาณในการสร้างโบสถ์มาจำนวนหนึ่งไม่ทราบว่าเป็น เงินเท่าไหร่  ซึ่งเป็นงบประมาณมาจากสภาคริสจักรในประเทศไทย และในปลายปีนี้เองได้ดำเนินการวางรากฐานและก่อสร้าง  โดยมีอาจารย์เทเลอร์  พอร์ตเตอร์ (สถาปนิกของสภาคริสตจักรในประเทศไทยเป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง)  โดยมีรถของอาจารย์ แบลคเบริน  ขนปูนซีเม็นต์ เหล็กเส้น  และวัสดุก่อสร้างจากในเมือง เข้ามาในหมู่บ้านโดยใช้แรงงานจากสมาชิกช่วยกันก่อสร้าง แต่ไม่ทันเสร็จ เนื่องจากงบประมาณไม่พอต้องทิ้งไว้ประมาณ3 ปี เมื่อได้งบประมาณเพิ่มเติม จึงลงมือก่อสร้างจนแล้วเสร็จในปี 1963  และได้มีพิธี “สถาปนาแต่งตั้งเป็นคริสตจักรอย่างเป็นทางการในปี 1963” นับเป็นคริสตจักรที่ 7 ที่สังกัดภาคที่ 3 ลำปางโดยตั้งชื่อ “คริสตจักรประสบกิตติคุณ”

พัฒนาการคริสตจักรประสบกิตติคุณ (ค.ศ.1964-1981)

            ในปีค.ศ.1964 หลังจากคริสตจักรประสบกิตติคุณได้ทำการก่อสร้างพระวิหารและได้รับการสถาปนา เป็นคริสตจักรแล้ว  งานพันธกิจของคริสตจักรก็ดำเนินต่อไป ภายใต้การดูแลของคริสตจักรภาคที่ 3 ลำปาง โดยมีอาจารย์ดวงดี  ทิพย์มาบุตร  มาเป็นรักษาการศิษยาภิบาลในระยะเริ่มแรก แต่ท่านก็ไม่มีโอกาสได้มาบ่อยนัก แต่ก็มีผู้รับใช้ท่านอื่นมาช่วยโดยผลัดเปลี่ยนกัน ได้แก่ ผป.สระ  ไตรเดช ,ศจ.สุพรรณ  ดวงเนตร,  อ.วิชา  นทีคุณธรรม  ,อ.เมี้ยน  พงศ์น้อย  ,อ.ประทวน  หล้าใหญ่  มาดูแลอยู่ระยะหนึ่งโดยทำหน้าที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของคริสตจักร  การเติบโตของคริสตจักรในระยะนี้เป็นไปอย่างช้า ๆ แต่ก็มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งที่เป็นลูกหลานและผู้รับเชื่อใหม่   ในขณะเดียวกันมีคริสเตียนบางคนได้ลาออกไปเนื่องจากถูกสภาวะกดดดันหลายด้าน  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความประพฤติ การถูกข่มเหง ปัญหาครอบครัว  ปัญหาการเงิน
ทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกของคริสตจักรค่อนข้างยากจนต้องอาศัยเช่าที่ดินเขา ทำนาแต่เมื่อมาเป็นคริสเตียน  เจ้าของที่ดินก็ได้เอาที่ดินคืนหมด จึงทำให้สมาชิกคริสตจักราต้องพบกับความลำบาก และต้องเดินทางมาเช่าที่นาของคนในเมืองทำ (ส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกของคริสตจักรที่ 1 ลำปาง) บางครอบครัวก็หันไปบุกเบิกทำไร่  ทำนา  ทำสวนในป่า ถากถางรอนแรมอยู่ในป่า  วันอาทิตย์จึงจะกลับมานมัสการที่บ้านอีกครั้งเป็นอย่างนี้อยู่หลายปี และในช่วงเวลานี้เองทางคริสตจักรภาคที่ 3 ได้เห็นความลำบากของสมาชิกคริสตจักรจึงได้ประสานไปยัง ดร.แลรี จั๊ดดี ซึ่งรับผิดชอบโครงการ “ชูชีพชนบท” เข้ามาร่วมพัฒนาคริสตจักรชนบท ซึ่งแนวทางหรือวัตถุประสงค์ของโครงการชูชีพชนบทก็คือ
ประการแรก   เป็นการส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของคริสตจักรชนบท ช่วยให้เขาสามารถเลี้ยงตนเอง
ประการที่ สอง ช่วยให้สมาชิกคริสตจักรชนบทมีชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ ปรับปรุงพัฒนาเกษตรกรรมให้ก้าวหน้า
ประการที่สาม เสริมสร้างความเข้มแข็งและสภาพหมู่บ้านให้เจริญก้าวหน้า
ประการที่สี่ ช่วยพัฒนาระบบการขยายงานของชนบท
            สำหรับแนวทางการเกษตรแผนใหม่ของท่านคือ การทำการเกษตรด้วยวิธีกสิกรรม (การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ควบคู่กัน) สมาชิกคริสจักรประสบกิตติคุณหลายครอบครัวได้เข้าร่วมโครงการ โดยได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือในเรื่องทุน พันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ จากศาสนาจารย์ แลรี จั๊ดดี ท่านได้นำระบบ การปลูกพืชแบบผสมผสานมาใช้กับการเกษตร โดยเฉพาะครอบครัวของพ่อแก้วมา และอีกหลายครอบครัวได้นำวิธีการของท่านไปใช้ซึ่งก็ได้ผลดี
            นอกจากโครงการชูชีพชนบทที่สมาชิกของคริสตจักรได้เข้าร่วมโครงการแล้ว สมาชิกคริสตจักรหลายท่าน โดยการนำของพ่อแก้วมา  แก้วติ๊บ ได้ปรึกษาหารือกันว่า จะทำการปลูกอ้อยส่งโรงงาน จึงเดินทางไปซื้อพันธุ์ด้วยจากโรงงานน้ำตาลเกาะคามาปลูก ปรากฏว่าได้ผลดีมาก  มีค่าตอบแทนคุ้มค่าและได้กำไร จนในที่สุดอาชีพการปลูกอ้อยส่งโรงงานก็แพร่หลายไปยังสมาชิกคนอื่น ๆ ของคริสตจักร ตลอดจนคนในหมู่บ้านที่ไม่ใช่คริสเตียนก็ได้หันมาทำอาชีพการปลูกอ้อยจนสร้าง รายได้ให้กับสมาชิก จึงทำให้ฐานะของสมาชิกดีขึ้นและเริ่มมีที่ดินเป็นของตนเอง มีสมาชิกหลายท่านเห็นความสำคัญของการเรียนหนังสือ จึงได้ส่งบุตรหลานหลายคนเข้าไปเรียนหนังสือในเมืองซึ่งในเมืองก็มีโรงเรียน ของสภาคริสตจักร ที่ได้ตั้งก่อนหน้านั้นแล้วคือ โรงเรียนเคนเน็ตแม็คเคนซี (โรงเรียนชายล้วน ปัจจุบันเป็นสหศึกษา) โรงเรียนวิชชานารี(โรงเรียนหญิงปัจจุบันเป็น     สหศึกษา) นักเรียนรุ่นแรกที่มีโอกาสมาเรียนในเมืองคือ ผป.จำรัส  แก้วติ๊บ  และอีกหลายคนในรุ่นต่อมา และในปัจจุบันสมาชิกของคริสตจักรจำนวนมากได้ทำงานที่มั่นคง  มีฐานะมั่นคงและเป็นกำลังสำคัญของคริสตจักร ในขณะเดียวกันถึงแม้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่จะมีฐานะดีขึ้น แต่อาชีพการทำนาก็ยังไม่ได้ละทิ้งเพราะทุกคนยังมีความผูกพันอยู่กับอาชีพการ ทำนาจนมาถึงปัจจุบัน
            ในปี ค.ศ.1973 มีสมาชิกหลายคนที่มีความคิดในด้านการพัฒนา..ได้เห็นความสำคัญของการรวมกลุ่ม เพี่อช่วยเหลือกันในเวลาที่เดือดร้อน  และในขณะนั้นสมาชิกส่วนใหญ่ยังยากจน ต้องการเงินทุนก็ต้องไปกู้เงินจากนายทุนมาเป็นค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะถ้ารู้ว่าเป็นคริสเตียนแล้วยิ่งลำบาก ดังนั้นเองสมาชิกประมาณ 10 คน ก็ได้ปรึกษาหารือกัน และจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในคริสตจักรโดยระดมทุนหุ้นละ 10 บาท ในเดือนแรกระดมทุนได้ 150 บาท บุคคลที่ร่วมก่อตั้งในครั้งนั้นได้แก่
ผป.ซาว             อินทิยศ
ผป.รัตน์             แสนใจศรี
ผป.นุช              แสนใจศรี
ผป.แก้วมา         แก้วติ๊บ
ผป.นิตย์            แสนใจศรี
            จากการระดมเงินทุนในครั้งนั้นจากทุนเริ่มต้น 150 บาทต่อมากลุ่มออมทรัพย์ก็ได้เติบโตขึ้น เนื่องจากสมาชิกหลายคนได้เห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือกันใน หมู่สมาชิกได้สมัครเข้ามาเกือบจะทุกครอบครัวในคริสตจักร ภายในระยะ 26 ปีกลุ่มออมทรัพย์กลุ่มนี้มีเงินหมุนเวียนกว่าหนึ่งล้านบาท และจากจุดนี้เองทำให้คริสตจักรประสบกิตติคุณเจริญขึ้น และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนสามารถสร้างคริสตจักรให้เจริญเติบโต และเข้มแข็งในด้านความเชื่อ และได้เป็นแบบอย่างสำหรับหลายคริสตจักรได้เป็นแบบอย่างในการรวมกลุ่มกันและ ได้มีคริสตจักรในภาคต่าง ๆ ได้เข้ามาศึกษาดูงานเสมอ ๆ
นอกจากกลุ่มออมทรัพย์แล้ว สมาชิกของคริสตจักรก็มีโครงการหลายอย่างที่จะทำให้สมาชิกของคริสตจักรได้มี ส่วนร่วมในการช่วยเหลือกัน…….ได้แก่ ธนาคารข้าว (ตอนหลังได้เลิกไปเนื่องจากไม่มีสมาชิกมากู้ยืม เงินที่ได้ทั้งหมดได้นำมาสมทบเข้ากองทุนเลี้ยงตนเอง) และโครงการอี่น ๆ อีกหลายโครงการในการที่จะเสริมสร้างรายได้ให้กับสมาชิก
            ในปี ค.ศ.1981 ทางคริสตจักรภาคที่ 3 ลำปางโดยมี ศจ.สุพรรณ  ดวงเนตรประธานคริสตจักรภาค 3 ลำปางได้แจ้งมายังคริสตจักร ซึ่งตอนนั้นประธานคริสตจักรคือ ผป.จำรัส  แก้วติ๊บ ให้คริสตจักรเข้ามาร่วมโครงการคริสตจักรเลี้ยงตนเอง 1979 (คือโครงการที่สภาคริสตจักรได้กำหนดให้คริสตจักรท้องถิ่นใด ๆ ที่จะรับศิษยาภิบาล แต่ไม่สามารถเลี้ยงตนเองได้ ให้คริสตจักรท้องถิ่นนั้น ๆ เข้าอยู่ในโครงการคริสตจักรเลี้ยงนเอง 1979 โดยแบ่งส่วนความรับผิดชอบค่าตอบแทนให้ศิษยาภิบาล จากสภาคริสตจักร คริสตจักรภาค และคริสตจักรท้องถิ่น ตามปีที่ขอเข้าร่วมโครงการฯ ) โดยให้คริสตจักรได้มีโอกาสรับศิษยาภิบาลเพื่อเข้าร่วมโครงการดังกล่าว คณะธรรมกิจได้มีการประชุมและมีความเห็นว่าควรรับศิษยาภิบาลเพื่อเข้ามา อภิบาลสมาชิก และได้เชิญอาจารย์อดิศักดิ์  แสนเงิน มาทำหน้าที่ศิษยาภิบาล ท่านได้ทำงานในคริสตจักรตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 จนถึงปี 1982 เป็นเวลา 2 ปี ท่านได้ลาออกไปทำงานที่อื่น

พัฒนาการของคริสตจักรประสบกิตติคุณ ปีค.ศ.1983 - 1999

            ในปีค.ศ.1983-1984 ช่วงนี้คริสตจักรได้ว่างเว้นจากการมีศิษยาภิบาลอยู่ 2 ปี การดูแลคริสตจักรจึงเป็นหน้าที่ของคณะธรรมกิจและผู้ปกครองในคริสตจักร  โดยมีเจ้าหน้าที่ภาคที่ 3 มาช่วยดูแลเป็นบางครั้ง ประธานคริสตจักรในช่วงนี้คือ ผป.จำรัส  แก้วติ๊บ  และวันที่ 10 เมษายน ค.ศ.1984 ได้เกิดลมพายุพัดกระหน่ำเข้ามาในหมู้บ้านทำความเสียหาายให้กับบ้านเรือนมาก มายโดยเฉพาะหลังคาโบสถ์ และบ้านพักศิษยาภิบาลเสียหายทั้ง หลังหลังคาโบสถ์ถูกลมพัดไปทั้งแถบไม่สามารถใช้การได้เป็นเวลานานพอสมควร  ดังนั้นในเวลาต่อมาโบสถ์ของคริสตจักรจึงได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและ ต่อเติมข้างหลัง  โดยมีนายปอ  บัญวารี เป็นผู้ออกแบบและดัดแปลงก่อสร้าง  จนใช้การได้มาถึงปัจจุบัน
            ในปีค.ศ.1985 คริสตจักรได้มีความกระตือรือล้นที่จรับศิษยาภิบาล เพื่อฟูมฟักเลี้ยงดูด้านจิตวิญญาณ สมาชิกให้เจริญเติบโตและเข้มแข็ง  ในช่วงเวลานั้นทางคริสตจักรได้ทำหนังสือเชิญอาจารย์ปราโมทย์  วรพิทย์เบญจา(โดยการแนะนำของอาจารย์มนัส  วรพิทย์เบญจา) ตอนนั้นท่านเป็นผู้ช่วยศิษยาภิบาลที่คริสตจักรตรัง  และมีความประสงค์ที่จะรับใช้พระเจ้าทางภาคเหนือ  ท่านจบประกาศนียบัตรด้านศาสนศาสตร์จากโรงเรียนพระคริสตธรรมพะเยา ( ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยพระคริสตธรรมพะเยา)  เมื่ออาจารย์ปราโมทย์มีโกาสมาเทศนาที่คริสตจักรประสบกิตติคุณเป็นครั้งแรก ทางคริสตจักรก็ตกลงรับอาจารย์ปราโมทย์เป็นศิษยาภิบาลทันที  และได้ทำหนังสือไปยังคริสตจักรภาคที่ 3 เพื่อขออนุมัติ ทางคริสตจักรภาคจึงได้มี
มติที่ ดภ.3. 2/1985 “อนุมัติ ให้คริสตจักรประสบกิตติคุณรับบุคคลดังกล่าวเข้าทำหน้าที่ศิษยาภิบาล  โดยให้เข้าโครงการ 1979 ในอัตราเงินเดือน 2,625 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 1985 เป็นต้นไป”
            เมื่อท่านได้เข้ามาอยู่คริสตจักรในครั้งแรก งานที่ท่านทำก็คือการซ่อมแซมโบสถ์ ซึ่งได้ร่วมกับคณะธรรมกิจจนสามารถสร้างแล้วเสร็จภายในปี 1985 หลังจากนั้นท่านได้เริ่มงานอภิบาลทันทีท่านได้เริ่มที่ทำการปฎิรูปและฟื้นฟู คริสตจักรหลังจากที่อยู่ในสภาวะที่ชงักงันไปนานพอสมควร ให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง  และเนื่องจากท่านเป็นคนหนุ่มที่ยังไม่ได้แต่งงาน ท่านได้ทุ่มเททั้งแรงใจแรงกายให้กับคริสตจักรด้วยความเสียสละอดทนมีความมุ่ง มั่นที่จะพัฒนาคริสตจักรให้มีคามมั่นคงเพื่อเข้าสู่การปกครองตนเองและเลี้ยง ตนเอง ดังนั้นโครงการหลายอย่างได้เริ่มขึ้นเพื่อเป็นหนทางนำไปสู่การเลี้ยงตนเอง  มีการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ ขึ้น มีกองทุนเลี้ยงตนเองที่ได้จากการถวายของสมาชิกรวมไปถึงกองทุนของครอบครัวของ นายแพทย์ตวงธรรม-แม่เลี้ยงจันทร์นวล  สุริยะคำ ได้ถวายเงินเพื่อตั้งเป็นกองทุนเลี้ยงตนเองเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท     ศิษยาภิบาลท่านนี้ได้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่กระตุ้นความคิดของสมาชิกและ คณะธรรมกิจหลายท่านที่จะรวมกันวางแผนกำหนดนโยบายของคริสตจักรเพื่อเตรียมให้ คริสตจักรสมารถเลี้ยงตนเองได้ และในการทำงานนี้ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสมาชิกทุกคนจนสามารถมี กองทุนก้อนใหญ่ และในที่สุดคริสตจักรประสบกิตติคุณก็สามารถยืนหยัดปกครองตนเองและเลี้ยงตน เองได้  ในปีค.ศ.1993 คริสตจักรได้หมดวาระในการเข้าโครงการ 1979 ทางคริสตจักรประสบกิตติคุณได้วางแผนไว้ว่า เมื่อหมดโครงการ 1979 เมื่อใดคริสตจักรก็จะสามารถเป็นคริสตจักรเลี้ยงตนเองได้      เนื่องจากทางคริสตจักรได้จัดเตรียมในเรื่องกองทุนและโครงการต่าง ๆ รองรับไว้แล้วนั่นเอง และนับว่าคริสตจักรประสบกิตติคุณได้ประสบความสำเร็จในการปกครองตนเองและ เลี้ยงตนเองได้เป็นผลสำเร็จ แต่การเป็นคริสตจักรเลี้ยงตนเองของคริสตจักรประสบกิตติคุณก็ใช่ว่าจะราบรื่น ไปเสียทีเดียวคริสตจักรก็มีปัญหาบ้างเหมือนกับคริสตจักรทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาอยู่ในเวลานี้ก็ ส่งผลทำให้การถวายของสมาชิกลดลงไปบ้างในบางครั้ง แต่คริสตจักรก็สามารถประคองตนเองให้สามารถรอดพ้นจากภาวะวิกฤตได้ โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยในแต่ละฝ่ายจะมีกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่จะหาทุนเพื่อรองรับและเพิ่มกองทุนให้มีมากขึ้น  โครงการหรือกิจกรรมที่สำคัญมีดังนี้

  1. โครงการกลุ่มออมทรัพย์แบ่งปันผลกำไรหัก 10% ของทุกปีเข้ากองทุนทั้งหมด
  2. โครงการธนาคารข้าวนำผลกำไรที่ได้สมทบเข้าโครงการเลี้ยงตนเองทั้งหมด
  3. โครงการถวายเดือนละ 10 บาท/คน/เดือน   ทั้งหมดสมทบเข้าโครงการคริสตจักรเลี้ยงตนเอง
  4. โครงการกระปุกออมสินโดยให้ครอบครัวออมเงินในกระปุกออมสินถ้าเต็มแล้วก็นำมาถวายเข้าโครงการ
  5. และอีกหลาย ๆ โครงการที่เป็นกิจกรรมของคณะอนุชน, คณะสตรี, คณะยุวชน, กลุ่มอาชีพ ,คณะดนตรี ที่ทุกกลุ่มได้มีส่วนในการพัฒนาคริสตจักรให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้ง ไว้


คริสตจักรประสบกิตติคุณในปี 2000 – ปัจจุบัน
          คริสตจักรประสบกิตติคุณ ได้มีการสร้าง บุคลากรมากมายเข้าสู่สถาบันของพระเจ้า และได้ส่งเสริมอนุชนเข้าศึกษาเพื่อเตรียมตัวเป็นผู้รับใช้พระเจ้าเต็มเวลา  และในขณะเดียวกันก็ได้มีการออกประกาศพระกิตติคุณกับเหล่าเยาวชนในพื้นที่ อำเภอห้างฉัตร แต่รูปแบบในการประกาศส่วนมากแล้วจะเป็นในรูปแบบของการจัดค่าย ต้านยาเสพติด มีผู้เข้าร่วมโครงการมากมาย ดังนั้นจึงสามารถจัดตั้งกลุ่มที่เยาวชนในอำเภอห้างฉัตรได้ ปัจจุบันกลุ่มนี้ได้เป็น๕ระกรรมการเยาวชนในจังหวัดลำปาง  แต่น่าเสียดายการรับเชื่อไม่ได้เกิดขึ้น   ช่วงระยะเวลาในปี 2001-2004 ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงในคริสตจักรประสบกิตติคุณ เพราะว่า บุคลากรในคริสตจักรส่วนมากไปเรียนต่อทั้งปริญาตรี และปริญาโท  จึงเป็นช่วงที่ขาดแคลนคนรับใช้ในคริสตจักร  และในขณะเดียวกันทางคริสตจักรก็มองเห็นว่าพระวิหารที่ใช้ในการนมัสการพระ เจ้านั้นกำลังทรุดโทรมไป จึงมีโครงการสร้างพระวิหารหลังใหม่ ดังนั้นจึงเริ่มสร้างพระวิหารหลังใหม่ขึ้น ซึ่งใช้งบประมาณทั้งหมด 2 ล้านบาท  ทำการสร้างเสร็จเมื่อปี 2005 การเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นอีกเมื่อ ศาสนาจารย์ปราโมทย์  วรพิทย์เบจาได้ขอลาออกจากการเป็นศิษยาภิบาล   ดังนั้นทางคริสตจักรประสบกิตติคุณจึงทำหนังสือเชิญ   อาจารย์ชัชวาล    ขัดสีใสมาเป็นศิษยาภิบาล ซึ่งอาจารย์ชัชวาล ก็เป็นอนุชนในคริสตจักรที่ทางคริสตจักรได้ส่งไปเรียนโรงเรียนพระคัมภีร์ที่ โรงเรียนกรุงเทพคริสตศาสนศาสนตร์ (BIT) เป็นเวลาที่อาจารย์ชัชวาล  เรียนจบจึงรับมารับใช้ในคริสตจักรแต่ยังไม่ขอรับเป็นศิษยาภิบาลทางคริสตจักร จึงขอให้ศาสนาจารย์ปราโมทย์เป็นศิษยาภิบาลต่อแล้วให้ อาจารย์ชัชวาล เป็นผู้ช่วยศิษยาภิบาล  ต่อมาในปี 2006 ทางศาสนาจารย์ปราโมทย์ ขอลาออกทางคริสตจักรจึงแต่งตั้งให้ อาจารย์ชัชวาล  ขัดสีใส เป็นศิษยาบาลคริสตจักรประสบกิตติคุณตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2006
            ปัจจุบันคริสตจักรประสบกิตติคุณ มีสมาชิกทั้งหมด 150 คน แยกเป็นชาย 65 คน หญิง 85…คน และสมาชิกส่วนหนี่งได้ไปทำงานในต่างจังหวัดและกลับมาร่วมนมัสการเป็นบาง ครั้งและสมาชิกเข้าร่วมนมัสการวันอาทิตย์ประมาณ 70 คนและสมาชิกของคริสตจักรหลายคนได้ออกไปเป็นผู้รับใช้ในต่างจังหวัดและเป็น มิชชันนารีในต่างประเทศ 1 ครอบครัว  สมาชิกส่วนใหญ่มีอาชีพ ค้าขาย, รับจ้าง, รับราชการ   คริสตจักประสบกิตติคุณ เป็นคริสตจักรที่เลี้ยงตนเอง    เป็นคริสตจักรที่ 7 ของภาคที่ 3ลำปาง โดยมี        คศ.ชัชวาล  ขัดสีใสเป็นศิษยาภิบาล  มีผป.จำรัส  แก้วติ๊บ           เป็นประธานคณะธรรมกิจคริสตจักร


Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  5,728
Today:  6
PageView/Month:  10

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com